แหล่งโปรตีนเช่นเดียวกับการกินถั่วเหลือง ที่ธัญพืชพื้นบ้านชนิดนี้สร้างความฮือฮาให้ชาวโลกคือ มีการวิจัยพบว่า เม็ดบัวมีสารแอนติออกซิแดนต์ในปริมาณสูง ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น ชะลอการเสื่อมของอวัยวะและผิวพรรณ ป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ
เม็ดบัวมีประโยชน์ทางยาสูงมาก แพทย์แผนไทย แนะนำว่า ช่วยบำรุงกำลัง แก้โรคข้อต่างๆ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ส่วนแพทย์แผนจีนบอกว่า ช่วยบำรุงไต ม้าม หัวใจ และตับซึ่งตรงกับงานวิจัยในต่างประเทศที่ระบุว่า
“สารแอนติออกซิแดนต์จะช่วยปกป้องและบำรุงตับ โดยเฉพาะตับที่ต้องขับสารแอฟลาท็อกซิน(Aflatoxin) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งตับออกจากร่างกาย การกินเม็ดบัวจึงสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้”
เม็ดบัวไทย-จีน ความเหมือนที่แตกต่าง
การเลือกกิน เม็ดบัวส่วนใหญ่ที่เราเห็นทั่วไป จะเป็นสินค้าที่นำเข้าจากประเทศจีนซึ่งจะมีเมล็ดขนาดใหญ่ ผ่านการกะเทาะเปลือก ดึงดีบัว(ต้นอ่อนที่ฝังอยู่กลางเมล็ดมีสีเขียวเข้ม)ออก และอบแห้งแล้ว
ส่วนเม็ดบัวไทยนั้นไม่ค่อยพบวางจำหน่ายในท้องตลาด เนื่องจากมีเมล็ดเล็ก จึงไม่เป็นที่นิยม แต่จากผลการวิจัยของ อาจารย์ปริญดา ที่ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารแอนติออกซิแดนต์ในเม็ดบัวไทยและจีนพบว่า เม็ดบัวไทยมีปริมาณสารแอนติออกซิแดนต์สูงกว่าเม็ดบัวจีน 5-6 เท่า
อาจารย์ปริญดาจึงแนะนำว่า ถ้าต้องการให้ร่างกายได้รับสารแอนติออกซิแดนต์ปริมาณสูงควรเลือกกินเม็ดบัวไทยดีกว่า โดยเฉพาะเม็ดบัวไทยสด
วิธีกินคือ ลอกเปลือกออกจากเมล็ด โดยไม่ดึงเยื่อหุ้มเมล็ดและดีบัวออก กินสดๆทั้งเมล็ด จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านมะเร็งซึ่งอยู่บริเวณเยื่อหุ้มเมล็ด และดีบัวในปริมาณสูง
ส่วนชนิดอบแห้งนั้น เรานำมาทำอาหารคาวหวานได้หลากหลาย ที่คุ้นเคยกันดี คือ น้ำอาร์ซี เม็ดบัวต้มน้ำตาลทรายแดง ผสมในเต้าฮวย หรือเต้าทึง ข้าวอบใบบัว เป็นต้น
ส่วนเคล็ดลับการเลือกซื้อให้ได้ของสดใหม่ คุณภาพดีมีดังนี้ค่ะ
ชนิดอบแห้ง
1. ควรเลือกเมล็ดที่มีสีเหลืองนวล ถ้ามีสีเหลืองเข้ม แสดงว่าเป็นเม็ดบัวเก่าที่เก็บไว้นานแล้ว เมล็ดไม่แตกหัก และไม่มีฝุ่นละอองปนเปื้อน
2. ขั้วเมล็ดไม่ดำคล้ำ เพราะจะเป็นเมล็ดที่เก็บไว้นานแล้ว
3. ไม่มีกลิ่นสาบหรือเหม็นหื่น
ชนิดฝักสด
เลือกฝักที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ สีเขียวอ่อน จะได้เม็ดบัวที่มีเนื้อกรอบ หวานกำลังดี คราวนี้ถ้าเจอฝักบัวสดในตลาดอย่าลืมซื้อติดไม้ติดมือมาคนละสองสามกำนะคะ
ที่มา ... ชีวจิต
#ค้นหาการเดินทางจังหวัดแพร่ ด้วย #แผนที่การเดินทางจังหวัดแพร่ คลิ๊กhttp://bit.ly/ท่องเที่ยวแพร่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น